รีวิว



                                    1991  

                       ระหว่างเราสูญหาย







'' ความคิดถึงจะมีค่าก็ต่อเมื่อตอนที่มันยังอยู่กับเรา ''


หยิบจากประโยคนึงจากหนังสือที่มีชื่อว่า 1991 ระหว่างเราสูญหาย  
จากนักเขียน  ที่มีนามปากกาว่า  พิมประภา เจ้าของแฟนเพจ  ''1991''


ว่าด้วยเรื่องสั้น 15 จบในตอน ที่สะท้อนภาพความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนของคนหนุ่มสาวยุคได้ได้แสนเจ็บปวดและงดงาม ความรักในรูปแบบองความเรียงไม่กี่บรรทัดก็สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าถึงความเจ็บปวดนั้นได้ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ้งถูกกลายเป็นเรื่องสั้นที่ไม่เคยถูกเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ว่าด้วยภาพความทรงจำ ที่ไม่มีคำนิยาม บางครั้งความสุขและความเศร้า ความรักมักจะมอบบางอย่ากลับคืนสู่ผู้อ่านอย่างสาสม

ด้วยข้อความที่เตือนด้วยว่า '' ไม่มีรุ้งระบายในหนังสือเล่มนนี้ '' ได้อย่าโหดเหี้ยม แต่อย่างไรนั้นเอง หนังสือเล่มนนี้ก็จะพาคุณค้นหาความหมายของการมีชีวิต ที่อยู่ท่ามกลางเรื่องเศร้าๆ ความสัมพันธ์ที่ชำรุดและบกพร่องมางการมองเหน ถูกเล่าเรื่องผ่านโลกของคนเหงาคล้ายดาวดวงหนึ่งที่ยังห่างไกลจากใครสักคน หมุนรอบตัวเอง และรอคอยถูกค้นพบ เฉกเช่นเดียวกับัตัวเราเองที่บางทีการถูกค้นพบหรือการหาใครสักคนจะคอยเตือนเราเสมอว่า ชีวิตคนเราเหมือน ขนนกที่ลองลอยอยู่ในอากาศ ลอยตามแรงลมก็ตาม  


ในหน้าสุดท้ายของหนังสือ จึงมีประโยคทิ้งท้ายไว้ว่า

 '' สัจธรรมบางอย่าง ล้วนปรากฏมี อยู่ และ แตกสลาย ''

สิ่งนั้นคือชีวิตคนเรานี้เอง ที่ต่างเกิดมาเพื่อพบกับชีวิตของตัวเอง แต่สิ่งเหล่านี้มันอาจไม่ได้คงอยู่กับเราตลอดไป ความรัก ความสุข ความเศร้า  ความกลัว  ความเบื่อ ความรัก และ ความตาย






อะไรกันละหว่า ?

                                  เสี้ยวชีวิตที่ยังเป็นปริศนา ของ   ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล





ปกติ ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล นั้นจะทำหนังสือเกี่ยวกับการเรียนหรือเนื้อหาที่ความหนักๆ ในเชิงวิชาการเป็นทุนเดิม  ซึ้งหนังสือเล่มนนี้ มีความตั้งใจให้เป็นเรื่องแบบสบาย ๆ เน้นอ่านสนุกแล้ว ไม่ต้องคิดอะไรมากกับเรื่องแปลก ๆ ที่ท่านนั้นเขียนหรือกรุณาบอกเล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเอง ได้อรรถรส ได้ทั้งแง่คิดที่เป็นประโยชน์ แม้หลากหลายเรื่องราวไม่สามารถอธิบายได้ แต่ทุกเรื่องเป็นปรากฎการณ์ที่ผู้เขียนได้เผชิญมาด้วยตนเอง! 


:: ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องที่ ดร.สุเมธ เล่ามา ค่อนข้างน่าเหลือเชื่อและแปลกประหลาดเลยทีเดียว มันจะมีสักกี่ครั้งที่มักจะเจอเรื่องบางเรื่องที่เราไม่สามารถให้คำตอบได้  หรือบางทีอาจจะได้คำตอบ  บางอย่างเราหาคำตอบแทบตายเรากลับไม่ได้คำตอบ แต่บางอย่าง เรารู้อยู่ว่าได้คำตอบมายังไง เรามักจะได้อย่างรวดเร็ว  ถ้าหากปรียบดั่งชีวิตคือการเจอเรื่องบางเรื่องและมันทำให้เราเติบโตไปข้างหน้า  การเจอเรื่องเลวร้ายกับเรื่องดีๆอาจจะต่างกันแค่เรา  ยอมรับกับสิ่งที่เจอได้หรือป่าว นั้นอาจเป็นคำตอบท่ชัดเจนแก่ตัวเราได้ดีที่สุด







                                             ยอดมนุษย์ดาวเศร้า

                               ของ  องอาจ  ชัยชาญทิพ







คำเตือน ::  เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเศร้า และผู้ที่มีความสุขแต่อยากเข้าใจคนที่มีความเศร้า (เริ่มงง) เอาเป็นว่าเหมาะกับทุกคนที่เคยมีประสบการณ์ชีวิตมามากพอควรครับ

หนังสือเล่าเรื่อง ‘ความเศร้า’ ผ่านตัวละครทั้ง 9 คน ที่บังเอิญเข้ามาเกี่ยวข้องกัน แต่ละตอนผู้เขียนฉายให้เห็นเบื้องหลังความคิดและการกระทำของตัวละครนั้นๆ ซึ่งการกระทำของอีกคนจะส่งผลต่ออีกคนหนึ่งเสมอ อันเป็นที่มาของ ‘ความเศร้า’ ที่ปรากฏขึ้นในแต่ละตอน ในตอนท้ายของทุกบท ผู้เขียนแสดงให้เราเห็นว่าแต่ละคนมีวิธีกำจัดความเศร้าที่แตกต่างกันออกไป บางคนเลือกที่จะเก็บมันไว้ บางคนเลือกใช้ชีวิตผจญกับมัน หรือแม้กระทั่งทางออกง่ายๆ อย่างเช่น การปล่อยวาง

สิ่งที่ได้จากการอ่าน ของหนังสือเล่มนนี้คือ


บทบาทของตัวละครทุกตัวทำให้เราเข้าใจว่า ทุกคนมีเหตุผล มีมุมมองเป็นของตนเอง สิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงสิ่งที่เค้าแสดงออกมาเท่านั้น อาจไม่เหมือนกับที่เค้าคิดเลยก็ได้ ผมคิดว่า ชีวิตเรามีสองด้านเสมอ คือ ด้านที่เราเปิดให้ผู้อื่น ‘เยี่ยมชม’ กับด้านที่เป็น ‘ตัวเรา’จริงๆ เมื่อต้องอยู่กับคนอื่น เรามักเลือกด้านที่คิดว่าเค้าจะยอมรับในตัวเรามาเป็นตัวแสดงแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเราจะปฏิบัติตนอย่างไร


หลายครั้งความเศร้ามักเกิดจากความคาดหวัง ความผิดหวัง หรือแม้กระทั่งไม่หวังสิ่งใดเลยก็เป็นได้ ขณะที่เรากำลังถามตัวเองว่า ชีวิตคืออะไร เรามีชีวิตไปเพื่ออะไรนั้น ชีวิตของเราก็ยังเดินหน้าไปทุกวินาทีอยู่ดี ดังนั้น เรามี 2 ทางเลือก คือ



1.  นั่งคิดหาคำตอบให้เจอ
2.  ช่างมันเถอะ หันมองรอบๆตัว แล้วใช้ชีวิตไปกับคนที่รักเราและคนที่เรารัก
และข้อสุดท้าย  คือการ  รักตัวเอง  นั้นเองครับ  :)








                                      แค่เราเข้าใจ

                                                         (ครูภู)



   1 ปีมี 365 วัน ถ้าถามว่าเรามีวันแย่ ๆ กี่วันก็ตอบไม่ได้หรอก เพราะมันก็แค่วันหนึ่งที่ผ่านมาและผ่านไป สิ่งที่เราทำได้คือให้มันเป็นบทเรียน ที่ต่อให้พรุ่งนี้โลกจะยื่นบททดสอบอะไรเข้ามา เราก็จะผ่านมันไปได้
เรื่องบางเรื่องมันเป็นเรื่องของความรู้สึก
เรื่องบางเรื่องหัวใจจะชนะสมองทุกเรื่องไม่ได้

ถ้าให้หัวใจชนะทุกเรื่องก็อาจจะเจออะไรเดิมๆซ้ำๆจุดจบเดิมๆ แต่ถ้าลองสมองชนะหัวใจบ้าง เราอาจจะหลุดพ้นจากตรงนั้นจริงๆก็ได้

ชีวิตคนเราในแต่ละวัน เราไม่อาจกำหนดได้ว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อวานอาจจะสุข วันนี้อาจจะทุกข์ และวันพรุ่งนี้เราให้คำตอบไม่ได้หรอกว่าชีวิตมันจะเดินไปในทิศทางไหน ถ้าเรากำหนดอนาคตไม่ได้ ก็ขอให้เตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ที่สุด แบบนี้สิ! ถึงจะเรียกว่าผู้ชนะ สิ่งที่เราทำได้คือปล่อยให้ทุกอย่างเป็นบทเรียนชีวิต ต่อให้ในวันข้างหน้าจะมีแบบทดสอบอะไรเข้ามาในชีวิต เราจะต้องข้ามผ่านมันไปให้ได้ และขอให้เชื่อมั่นไว้เสมอว่า    แค่เราเข้าใจ

          ‘แค่เราเข้าใจ’ หนังสือที่พร้อมจะมอบพลังบวกให้แก่นักอ่านทุกคนที่กำลังหมดหวัง ท้อแท้ หรือต้องการกำลังใจจากใครสักคน เราขอยกตัวอย่างข้อคิดคำคมโดนๆ จากหนังสือเล่มนี้มาฝากทุกคน เชื่อว่าหลังจากที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว คงจะไม่มีใครขโมยความสุขจากตัวเราไปได้อีก






                                                            ปรัญาชีวิต





"ปรัชญาชีวิต" เป็นหนังสืออมตะของ คาลิล ยิบราน ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนใจปรัชญาและสาระลึกซึ้ง นับแต่พิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1926 เป็นต้นมา ก็ได้พิมพ์ไปแล้วหลายสิบล้านเล่ม ทั้งยังแปลและพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ หลายสิบภาษา กล่าวกันว่า การอ่านกวีนิพนธ์ "ปรัชญาชีวิต" ของ คาลิล ยิบราน นั้น ผู้อ่านมักจะนึกถึงท่วงทำนองดนตรีไปพร้อมกับภาษาอันสวยงามด้วย ฉบับภาษาอังกฤษที่เริ่มพิมพ์ครั้งแรกๆ จึงได้แบ่งวรรคตอนการคั่นจังหวะไว้เสมือนหนึ่งเป็นท่อนรับที่ว่างจากคำร้อง แต่แทรกสอดด้วยดนตรีแทน หรือในอีกความรู้สึกหนึ่งก็คือ กวีนิพนธ์ของ คาลิล ยิบราน ควรที่ผู้อ่าน จะดื่มด่ำช้าๆ อย่างประณีต ค่อยๆ ซึมซับความละเอียดอ่อนหวานของภาษา ลีลาการเขียน และความหมายอันลึกซึ้ง


"ปรัชญาชีวิต" เป็นหนังสืออมตะของ คาลิล ยิบราน ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนใจปรัชญาและสาระลึกซึ้ง นับแต่พิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1926 เป็นต้นมา ก็ได้พิมพ์ไปแล้วหลายสิบล้านเล่ม ทั้งยังแปลและพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ หลายสิบภาษา กล่าวกันว่า การอ่านกวีนิพนธ์ "ปรัชญาชีวิต" ของ คาลิล ยิบราน นั้น ผู้อ่านมักจะนึกถึงท่วงทำนองดนตรีไปพร้อมกับภาษาอันสวยงามด้วย ฉบับภาษาอังกฤษที่เริ่มพิมพ์ครั้งแรกๆ จึงได้แบ่งวรรคตอนการคั่นจังหวะไว้เสมือนหนึ่งเป็นท่อนรับที่ว่างจากคำร้อง แต่แทรกสอดด้วยดนตรีแทน หรือในอีกความรู้สึกหนึ่งก็คือ กวีนิพนธ์ของ คาลิล ยิบราน ควรที่ผู้อ่าน จะดื่มด่ำช้าๆ อย่างประณีต ค่อยๆ ซึมซับความละเอียดอ่อนหวานของภาษา ลีลาการเขียน และความหมายอันลึกซึ้ง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม